Web
                        Analytics
3 ขั้นตอนวิธีวางแผนซื้อกองทุน LTF/RMF เด็ดๆ ก่อนสิ้นปี!!

3 ขั้นตอนวิธีวางแผนซื้อกองทุน LTF/RMF เด็ดๆ ก่อนสิ้นปี!!

22 Oct 2015   |    12399


Pasted_Image_10_2_15__3_28_AM

เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว อีก 3 เดือนก็จะสิ้นปีแล้ว

เพื่อนๆนักลงทุนหลายๆคนคงกำลังวุ่นอยู่กับงานประจำและธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตาม อย่าลืมเตือนตัวเองให้มี “วินัยทางการเงิน!” อย่างสม่ำเสมอ เพราะช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคมคือเดือนที่เราต้องวางแผนเตรียมซื้อ LTF/RMF ของปีนี้ก่อนที่จะเสียโอกาส SETScope มี "3 ขั้นตอนวิธีวางแผนซื้อกองทุน LTF/RMF เด็ดๆ ก่อนสิ้นปี" พร้อมทั้งตัวอย่างกองทุน RMF/LTF เด็ดๆมาฝาก มาดูกันเลย!

1. วางแผนซื้อกองทุนอย่างมีวินัยด้วยการทำ Saving Plan

Pasted_Image_10_11_15__6_55_PM

แทนที่จะไปเข้าคิวแย่งซื้อ LTF/RMF กันที่ธนาคารในช่วงอาทิตย์สุดท้ายก่อนสิ้นปี SETScope แนะนำให้เพื่อนนักลงทุนวางแผนซื้อกองทุนด้วยการทำ Saving Plan ที่เหมาะสมกับตัวเองเสียแต่แรก เช่น การตัดบัญชีอัตโนมัติเพื่อซื้อกองทุนอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนหลังเงินเดือนออก หรือ ถ้าอยากจับจังหวะการซื้อขาย เพื่อได้ราคาที่ต้องการ เช่น อยากเข้าซื้อตอนราคากองทุนต่ำอีก 10% ก็ลองใช้บริการ “D.I.Y Target Fund” ของ KAsset ดูได้

* ระบบแจ้งเตือนราคาซื้อเหมาะกับผู้ลงทุนที่ต้องการจับจังหวะการซื้อขายให้ทันสถานการณ์ ระบบจะทำการแจ้งเตือนเราผ่านทาง E-Mail โดยเราไม่จำเป็นต้องติดตามมูลค่าของหน่วยลงทุนด้วยตัวเองทุกวัน

เห็นไหมครับเพียงแค่ทำ Saving Plan ส่วนตัว หรือ ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีง่ายๆเหล่านี้ ก็ช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับเรานักลงทุนยุคใหม่ และส่งเสริมวินัยทางการเงินให้เราขึ้นมาได้อีกเท่าตัว...

2. ตรวจสอบความเหมาะสมกับตัวเราของกองทุนที่จะซื้อ LTF หรือ RMF ดี?

Pasted_Image_10_2_15__4_23_AM

เมื่อตั้งวินัยให้กับตัวเองในเรื่องของ Money Management ของกองทุนไปแล้ว ก่อนที่จะไปดูวิธีการเลือกกองทุนที่คุ้มค่า SETScope ขอทบทวนความสำคัญและความแตกต่างของ LTF และ RMF ให้ดูก่อน

สำหรับเพื่อนๆมือใหม่ และ มือเก่า หลายๆคนที่ซื้อกองทุน LTF เข้าพอร์ตตัวเองทุกปี ยังไม่รู้เลยว่า LTF ต่างกับ RMF อย่างไร? รู้เพียงแต่ว่า "ถ้าทำงานประจำต้องซื้อ LTF" หรือ "เพราะทุกคนที่ทำงานเขาซื้อแต่ LTF กัน" ซึ่งจริงแล้วความไม่เข้าใจให้ถี่ถ้วนนี้อาจจะทำให้เราพลาดโอกาสดีๆมากมาย

LTF (Long Term Equity Fund) คืออะไร?

LTF หรือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาวถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบันระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นไทยเสถียรมากขึ้น สร้างนักลงทุนระยะยาวเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนมีความรู้เรื่องการลงทุนมากขึ้น และมีสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีให้กับประชาชนเป็นแรงจูงใจสำคัญ

LTF เหมาะกับใคร?

เหมาะกับผู้ที่ต้องการลงทุนระยะยาวให้ได้ผลตอบแทนที่ดีแต่ไม่ชำนาญพอ หรือไม่มีเวลาบริหารการลงทุนด้วยตัวเอง อยากได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเข้าใจว่า หุ้นอาจมีช่วงเวลาที่ผันผวน และเมื่อลงทุนใน LTF แล้วต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปีปฎิทิน

RMF (Retirement Mutual Fund) คืออะไร?

RMF มีชื่อไทยว่า "กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ" เน้นส่งเสริมให้ประชาชนออมเงินไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณ จะได้ประโยชน์ทางภาษีคล้ายกับ LTF ผลตอบแทนของ RMF จะแตกต่างกันไปตามนโยบายของกองทุน เช่น RMF ที่ลงทุนในตราสารหนี้จะให้ผลตอบแทนไม่สูงนัก เพราะความเสี่ยงต่ำ ส่วนกองทุน RMF ที่ลงทุนในหุ้นจะมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงเหมือนการลงทุนโดยตรงในหุ้น แต่ก็มีความเสี่ยงและผันผวนสูงกว่า

RMF เหมาะกับใคร?

เหมาะกับผู้ที่ต้องการออมเงินเพื่อเกษียณ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริษัท ผู้ที่มีอาชีพอิสระ หรือ ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ซึ่งไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) จากนายจ้างมาช่วยเก็บออมและสมทบเงินให้หลังเกษียณ อย่างไรก็ตามพนักงานที่มีนายจ้างสนับสนุน Provident Fund ให้อยู่แล้วก็สามารถลงทุนใน RMF เพิ่มเติมได้ด้วย เพื่อการเก็บออมและผลตอบแทนในอนาคตให้ได้มากที่สุด

การที่เราเลือกซื้อ LTF เพราะกฎเกณฑ์ที่บังคับให้ต้องถือหน่วยลงทุนนั้นใช้ช่วงเวลาน้อยกว่า RMF เป็นเหตุผลที่ดีจริงหรือ?

ดังที่อธิบายมาแล้วข้างต้น จริงๆแล้วจะอยู่ที่วัตถุประสงค์การเก็บออมและความคาดหวังผลตอบแทนของแต่ละคนมากกว่า ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ซื้อทั้ง 2 ตัวให้เต็มเพดานถ้ารายได้เพียงพอ เพราะจะได้ทั้งลดภาษีและกำไรในระยะสั้นจาก LTF และการวางแผนชีวิตระยะยาวจาก RMF ยิ่งเริ่มต้นซื้ออย่างสม่ำเสมอเร็วเท่าไรยิ่งได้เปรียบ

ดูการเปรียบเทียบ LTF vs RMF เพิ่มเติมได้ที่ -> http://pantip.com/topic/32935577

3. เคล็ดลับการเลือกกองทุน LTF/RMF ที่ใช่ในช่วงเศรษฐกิจผันผวนนี้

ในช่วงที่ประเทศไทยมีปัญหาเศรษฐกิจถดถอยเช่นนี้ SETScope มีปัจจัยสำคัญที่ใช้เลือกกองทุนที่จะอยู่รอดและให้ผลตอบแทนที่ดีมาฝากดังนี้

  • ผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนต้องดีเป็นระดับต้นๆของการจัดลำดับ

จริงอยู่ที่ไม่มีกองทุนไหนสามารถทำผลงานได้ที่ 1 ในทุกๆปี มักจะสลับกันไป และผลงานในอดีตไม่สามารถทำนายอนาคตได้ การมองผลตอบแทน นอกจากจะดูผลคอบแทนย้อนหลังยาว ๆ แล้ว ยังควรดูผลตอบแทนระยะสั้น ๆ ที่สะท้อนการลงทุนที่เป็นปัจจุบันด้วย

  • กระจายการลงทุนไปทั่วโลก

ณ ขณะนี้ กระจายการลงทุนเพียงแค่ในภูมิภาคนั้นไม่พอเสียแล้วเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเดียวกันมักมีความคล้ายคลึงกัน ดังล่าสุดที่เราได้เห็นการถดถอยของหลายๆประเทศในกลุ่มอาเซี่ยนเหมือนไทยพร้อมๆกัน เช่น Phillipines, Indonesia, ... การเลือกกองทุนที่มีการกระจายการลงทุนไปทั่วโลกอย่างเช่น ยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น จึงดีกว่าแค่ระดับภูมิภาค

  • ในช่วงหุ้นผันผวนต้อง Selective Fund ถึงจะเอาอยู่

ในยามที่เศรษฐกิจถดถอย ตลาดหุ้นย่อมผันผวนตามไปด้วย ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับกองทุน LTF และ RMF ที่ลงทุนในหุ้น ดังนั้นการลงทุนกับกองทุน LTF ที่เป็นกองทุน Selective Fund ถือเป็นโอกาสดี เนื่องจากผู้จัดการกองทุนจะคัดเลือกหุ้น เพื่อไม่ให้ราคาของกองทุนโดยรวมผันผวนตามการขึ้นลงของตลาด จึงเป็นทางเลือกที่มีสิทธิ์ได้รับผลตอบแทนที่มากกว่า อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงก็จะมากกว่าตัวอื่นๆเช่นกัน

Pasted_Image_10_2_15__5_33_AM

แล้วกองไหนดี?? จากปัจจัยทั้ง 3 ด้านบน และเป้าหมายที่จะทั้งลดภาษีและได้ผลตอบแทนที่ดี เรานักลงทุนยังมีตัวเลือกอีกหลายอย่างที่ไม่ใช่เพียงแค่ตามกระแส LTF ที่เราบางคนเองยังไม่รู้เลยว่าเขานำเงิน LTF ของเราไปลงทุนในหุ้นอะไรให้เราบ้าง ตัวอย่างกองทุนทางเลือก 3 กองทุนที่แตกต่างกันข้างล่างนี้แสดงให้เห็นว่าเรายังมีทางเลือกในการลงทุนอีกมากที่สามารถตอบโจทย์การลงทุนแต่ละประเภทในช่วงที่เศรษฐกิจบ้านเราผันผวนได้เป็นอย่างดี ลองมาดูรายละเอียดกัน

สุดท้ายนี้ขอจบด้วยคำถามที่เพื่อนๆหลายคนถามเข้ามา "ลงทุนในช่วงเศรษฐกิจผันผวนด้วยกองทุน จะมีโอกาสเสียเงินต้นไหม??" คำตอบก็คือ "มี" แต่ถ้าไม่กล้าลงทุนเลย กลับจะเสี่ยงกว่ามากในยามเกษียณที่เกือบจะแน่นอนว่าเพียงแค่เงินเก็บนั้นคงไม่พอเมื่อเทียบกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นแบบทบต้นทุกปี สำหรับคนที่ยังไม่แน่ใจ SETScope แนะนำให้เลือกกองทุน RMF ที่ลงทุนในตราสารหนี้ และ ที่กระจายการลงทุนไปทั่วโลก อย่าง KSFRMF และ KGARMF ให้ไปลองพิจารณากันดู

ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง คู่มือภาษีก่อนตัดสินใจลงทุน

 


Share this article: