Web
                        Analytics
สรุปสถานการณ์การลงทุน วันที่ 09/09/2019

สรุปสถานการณ์การลงทุน วันที่ 09/09/2019

10 Sep 2019   |    1163


Global economy

[ECB QE] ตลาดคาดการณ์ ECB ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในการประชุมวันที 12 กันยายนที่จะถึงนี้ โดยส่วนใหญ่คาดลดดอกเบี้ยลง 10 basis point สู่ระดับ -0.5% และบางส่วนประมาณ 25% คาดการณ์ลด 20 basis point

[Trade war] ติดตามความคืบหน้าการเจรจาการค้า: รอบต่อไป สหรัฐจะขึ้นภาษีสินค้าจีนนำเข้าจาก 25% เป็น 30% สำหรับสินค้าที่ขึ้นภาษีก่อนหน้าแล้วมูลค่ารวม 250 ล้านเหรียญสหรัฐ

[Trade war] จีนกับสหรัฐฯ ตกลงจะเจรจาการค้าอีกรอบในช่วงต้นเดือนตุลาคม เป็นการลดความกังวลเรื่องสหรัฐเตรียมขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในวันที่ 1 ตุลาคมนี้

[US] ตลาดแรงงานสหรัฐยังคงตึงตัว ถึงแม้อัตราการจ้างเงินเพิ่มขึ้นจะชะลอตัวลง แต่อัตราค่าแรงยังคงปรับตัวสูงขึ้น มองเป็นสัญญาณบวกต่อสหรัฐในระยะยาวในแง่การลดความเหลื่อมล้ำ แต่อาจกดดันผลประกอบการบริษัทในระยะกลาง

[Hong Kong] 4 ก.ย. นาง Carry Lam ประกาศถอนร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นฮ่องกงปรับสูงขึ้น 3.90% ในวันดังกล่าว

[Brexit] 5 ก.ย. สภาสามัญชนของอังกฤษอนุมัติร่างกฎหมายป้องกันการแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรปโดยไม่มีการทำข้อตกลงด้วยคะแนนเสียง 327 ต่อ 299 เสียง ซึ่งนายจอห์นสันขู่ก่อนหน้านี้ว่า เขาจะยื่นญัตติเพื่อให้มีการยุบสภา และจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ต.ค. หากรัฐสภาอนุมัติร่างกฎหมายสกัดแผนเบร็กซิทโดยไม่มีข้อตกลง อย่างไรก็ตาม ญัตติดังกล่าวของนายจอห์นสันจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิกรัฐสภาถึง 434 เสียง หรือ 2 ใน 3 จากจำนวนสมาชิกทั้งหมด 650 เสียง

[Asset] ราคาสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงหรือ Safe haven ได้แก่ ทอง ค่าเงินเยน ค่าเงินบาท และรวมถึงพันธบัตร ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว สะท้อนภาวะตลาดกลับเข้ามาสู่ภาวะ Risk on หรือชอบความเสี่ยง อีกครั้ง

Thailand economy

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ต่ำที่สุดในรอบ 33  เดือน สู่ระดับ 73.60 รายงานโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 4 เดือน สู่ระดับ 48.60

ครม. เห็นชอบแพ็กเกจ เร่งรัดการลงทุนและรองรับการ ย้ายฐานการผลิตสืบเนื่องจากผลกระทบของสงครามการค้า หรือ Thailand Plus Package 7 ด้าน กระตุ้นเงินลงทุน FDI ได้แก่

1. สิทธิทางภาษี สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ร้อยละ 50 ระยะเวลา 5 ปี เพิ่มเติมจากเกณฑ์ปกติ สำหรับโครงการที่มีเงินลงทุนจริงอย่างน้อย 1,000 ล้านบาท ภายในปี 2564

2. เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยงาน ได้แก่การจัดทำ One Stop Service

3. ปรับปรุงบุคลากร ให้สิทธิผู้ประกอบการนำเงินค่าใช้จ่ายอบรมเกี่ยวกับ Advanced Technology ลดหย่อนภาษีเพิ่มขึ้น

4. ปรับปรุงด้านความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business)

5. จัดหาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมไทย

6. เร่งศึกษา การเจรจาความตกลงการค้าไทย–อียู และการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (CPTPP) ภายในปี 2562

7. เร่งออกมาตรการลดหย่อนภาษีในเครื่องจักระบบอัตโนมัติได้เพิ่มขึ้น


Share this article: