สรุปสถานการณ์การลงทุน วันที่ 07/10/2019
07 Oct 2019 | 1365
- Deepscope Site Admin
Global Economy
[US economy] 1 ต.ค. ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐดิ่งลงสู่ระดับ 47.8 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2552 จากระดับ 49.1 ในเดือนส.ค. ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นหลายประเทศปรับตัวลง ด้วยความกังวลว่า เศรษฐกิจจะชะลอตัวลง
[US economy] 1 ต.ค. ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ดัชนีภาคบริการของสหรัฐร่วงลงแตะระดับ 52.6 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2559 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 55.3 จากระดับ 56.4 ในเดือนส.ค.
[US economy] 2 ต.ค. คณะกรรมการ FED 2 ท่านส่งสัญญานเปิดช่องว่าอาจจะมีการลดดอกเบี้ย ส่งผลให้ตลาดคาดหวังว่า จะมีการลดดอกเบี้ย เร็วว่าที่คาดไว้เดิม ส่งผลบวกต่อมุมมองตลาดหุ้น
[Global stock index] หลังจากที่ตัวเลขจาก ISM ประกาศออกมา ส่งผลให้ดัชนีหุ้นหลักทั่วโลกหลายประเทศปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลา 2 วันได้แก่ SPX -2.99%, DAX -4.05%, UK100Index -3.86%, Nikkei -2.49% และดัชนีราคาทองคำ +1.76% ก่อนหน้าที่ดัชนีหุ้นจะฟื้นตัวกลับมาหลังจากตลาดมีความหวังว่าจะมีการนำมาตรการ QE กลับมาใช้อีกครั้ง
[US treasury bond yield] ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 2 ปีปรับลดลงสู่ระดับ 1.388% ซึ่งเป็นระดับเดียวกับช่วงประมาณเดือน กันยายน 2561 ซึ่งเป็นช่วงก่อนหน้าที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐจะปรับตัวขึ้นต่อเนื่องและรวดเร็ว ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับลดสู่ระดับ 1.515% ซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่าพันธขัตรอายุ 2 ปี ณ เวลาปัจจุบัน ทำให้ส่วนต่างผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีกับ 2 ปียังห่างอยู่ 0.127%
[US political] กระบวนการถอดถอนประธานาธิบดีสหรัฐ จะเริ่มขึ้นเมื่อสภาผู้แทนฯ ออกเสียงมากกว่าครึ่งเพื่อลงมติที่จะส่งต่อให้วุฒิสภาสอบสวน โดยวุฒิสภาต้องลงคะแนน 2 ใน 3 เสียงเพื่อถอดถอนประธานาธิบดี ซึ่งเป็นไปได้ยากในช่วงเวลาที่พรรครีพับบลิกันครองเสียงในวุฒิสภา ที่ 55 เสียงจาก 100 เสียง แต่กระบวนการดังกล่าว อาจมองได้ว่าเป็นการลดทอนความน่าเชื่อถือของประธานาธิบดีทรัมป์ก่อนการเลือกตั้งในเดือน พฤศจิกายน 2020 (2563)
[Japan] ญี่ปุ่นประกาศปรับขึ้นภาษีการบริโภค (sales tax) จาก 8% เป็น 10% เริ่มบังคับใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2562 และมีสินค้าบางรายการที่ไม่ได้ปรับขึ้น เช่น กลุ่มอาหารทั่วไป, อาหารที่ซื้อกลับบ้าน, ค่าห้องพัก ซึ่งมองว่าเป้นหมวดที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น
[Trade war] จีนส่งสัญญาณว่า ต้องการให้การเจรจาการค้าในสัปดาห์ถัดไป เป็นการเจรจาการค้าสินค้าในวงจำกัด แทนที่การเจรจาสินค้าโดยรวมทั้งหมด ส่งผลบวกต่อภาพรวมการสงบศึกการค้า เนื่องจากมองว่าการเจรจามีโอกาสสำเร็จมากกว่า
Thailand Economy
มาตรการชิมช้อปใช้ ได้รับการตอบรับที่ดี เป็นกระแสในสังคม ส่งผลให้รัฐบาลมีแนวโน้มจะออกมาตรการในลักษณะคล้ายกันเป็นช่วงที่ 2 (ชิมช้อปใช้ เฟส 2) เป็นการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทางตรง ซึ่งเป็นปัจจัยเชิงบวก
ทางเราประเมินว่า มาตรการชิมช้อปใช้เฟส 2 ที่อาจจะเกิด รัฐบาลพยายามพัฒนาและสร้างเครื่องมือการคลังให้มีมาตรฐาน สำหรับอัดฉีดเงินอย่างเป็นระบบและมีความโปร่งใส สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะสอดคล้องกับทิศทางโลกในเรื่อง MMT (Modern Monetary Theory) ที่รัฐบาลจะเป็นผู้คุมสภาพคล่องผ่านนโยบายการคลัง แทนผ่านนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งมีประสิทธิภาพถดถอยลง ทั้งนี้ ทฤษฎีดังกล่าวจะมีความเสี่ยงด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เนื่องจากอาจมีแนวโน้มเป็นไปในลักษณะประชานิยม มากกว่าการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ
ปัญหาราคายางตกต่ำ ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อจากภาคการเกษตร ณ วันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้ร่วงลงมาอีก 50 สตางค์ เหลือ กก.ละ 34.50 บาท โดยทางเครือข่ายชาวสวน-ชุมนุมสหกรณ์ระบุว่านโยบายโครงการประกันรายได้ชาวสวนผิดพลาด พ่อค้ากดราคารับซื้อรายวันแล้วไปขายราคาแพงในช่วงที่หมดระยะเวลาการประกันรายได้ของรัฐ ทำกำไรส่วนต่าง
กรอบการลงทุน
ดัชนี SET ณ สิ้นวันศุกร์ อยู่ที่ระดับ 1605.96 จุด ปรับลดลงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 1643.76 จุด ปรับตัว -2.30% ทะลุกรอบแนวรับระยะสั้นที่ระดับ 1620 และกลับมาสู่แนวรับสำคัญที่ 1600
แนวต้านระยะสั้น คือ 1750,1716,1677,1650, 1620 แนวรับระยะสั้นคือ 1600, 1570 (กรอบ Correction)
ในระยะกลาง แนวรับสำคัญมากคือ 1570+-10, และแนวต้านที่ 1770
ปัจจัยที่กดดันดัชนีตลาดหุ้นไทยในระยะสั่นคือ ดีล IPO ขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาอันใกล้ในช่วงข้างหน้า ได้แก่ AWC, CRC (Central Retail Corporation) ซึ่งเป็นการกระจายเงินลงทุนสู่หลักทรัพย์ IPO
ประเมินตลาด sideway ในกรอบกว้าง เนื่องจากเศรษฐกิจในภาพรวมทั่วโลกส่งสัญาณชะลอตัวลงอย่างชัดเจน แต่ชดเชยด้วยรัฐบาลไทยมีมาตรการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อชะลอการถดถอยของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเระมัดระวังปัจจัยความเสี่ยง crisis ที่อาจพัฒนาขึ้นได้ โดยเฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจมีความเปราะบางมากยิ่งขึ้น